หน้าหลัก เกี่ยวกับเทศบาล สภาพทั่วไปของเทศบาล

 

ที่ตั้ง

เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 87 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 28 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลท่าเรือทั้งตำบลและตำบลตะคร้ำเอนบางส่วน มีพื้นที่ทั้งหมด 7.26  ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

ทิศเหนือ       จด  คลองส่งน้ำชลประทาน (คลอง 3 ซ้าย)  
ทิศตะวันออก จด เส้นแบ่งเขตขนานกับถนนตะคร้ำเอนและถนนแสงชูโตใหม่
ทิศตะวันตก จด แม่น้ำแม่กลองและส้นแบ่งเขตขนานกับถนนพระแท่น
ทิศใต้ จด เขตเทศบาลตำบลท่ามะกา และคลองส่งน้ำชลประทาน

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ภายในเขตเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง โดยพื้นที่ด้านทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำแม่กลอง

ลักษณะภูมิอากาศ

ในเขตเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น สภาพภูมิอากาศมีสภาพอากาศร้อนชื้นคล้ายคลึงกับจังหวัดในภาคกลาง  ในฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนอบอ้าวมาก ในฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

ลักษณะของดิน

ลักษณะดินภายในเขตเทศบาลเป็นดินร่วนเหมาะสำหรับการทำไร่อ้อย โดยมีการใช้ประโยชน์ของดิน  คิดเป็นร้อยละของพื้นที่ทั้งหมด  ดังนี้

ทำการเกษตร                   ร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด
ที่อยู่อาศัย ร้อยละ 25 ของพื้นที่ทั้งหมด
การค้าขายและอุตสาหกรรม ร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมด
ที่สาธารณะ ร้อยละ  4  ของพื้นที่ทั้งหมด
ที่อื่น ๆ ร้อยละ  1  ของพื้นที่ทั้งหมด

ลักษณะของแหล่งน้ำ

มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญ จำนวน ๑ แห่ง คือแม่น้ำแม่กลองซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรมและการอุปโภค

ด้านการเมือง/การปกครอง

เขตการปกครอง
  เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าเรือและตำบลตะคร้ำเอน (บางส่วน) ซึ่งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๙ ชุมชน คือ ชุมชนใหม่เจริญผล ชุมชนตะคร้ำเอน ชุมชนบ้านคู้ร่วมใจพัฒนา ชุมชนศาลเจ้าพ่อเขาแดง ชุมชนก้าวหน้าพัฒนา ชุมชนใหม่ร่วมใจภักดิ์ ชุมชนชลประทาน ชุมชนศาลเจ้าแม่ทับทิม ชุมชนสวนหลวง ชุมชนรถไฟ ชุมชนส่วนเสริมร่วมพัฒนา ชุมชนทวีใจภักดิ์ ชุมชนร่วมจิตพัฒนา ชุมชนท่าเรือสามัคคี ชุมชนริมน้ำ ชุมชนใจกุศล ชุมชนวุ้นเส้นพัฒนา ชุมชนหนองรี และชุมชนรวยน้ำใจ

การเลือกตั้ง
    สถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
 การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
 เมื่อวันที่  18  มกราคม  2552
 สมาชิกสภาท้องถิ่น

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง    รวม    9,039  คน
แยกเป็น ชาย 4,144  คน
  หญิง 4,895  คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง    รวม 6,093  คน
คิดเป็นร้อยละ  67.41  ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง    

  การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น
  เมื่อวันที่  27  กันยายน  2552

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง                        รวม    8,985   คน
แยกเป็น ชาย 4,127   คน
  หญิง 4,858   คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง รวม 6,438   คน
คิดเป็นร้อยละ 71.65  ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง    

  การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น (แทนตำแหน่งที่ว่าง)
  เมื่อวันที่  1  เมษายน  2555
  สมาชิกสภาท้องถิ่น

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง                        รวม    3,010  คน
แยกเป็น ชาย 1,336  คน
  หญิง 1,674  คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง รวม 1,816  คน
คิดเป็นร้อยละ 60.33 ของผู้มีสิทธเลือกตั้ง    

  การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
  เมื่อวันที่  3  มีนาคม  2556
  สมาชิกสภาท้องถิ่น

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง                        รวม    9,210   คน
แยกเป็น ชาย 4,259   คน
  หญิง 4,951   คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง รวม     7,086   คน
คิดเป็นร้อยละ 76.94 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง    

  การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น
  เมื่อวันที่  10  พฤศจิกายน  2556

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งบ                       รวม    9,157  คน
แยกเป็น ชาย 4,229  คน
  หญิง 4,928  คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง รวม 6,918  คน
คิดเป็นร้อยละ 75.55 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง    

 

ประชากร

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
 -  จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ  4,829  ครัวเรือน
 -  มีประชากรทั้งหมด 11,743 คน แบ่งเป็น ชาย 5,574  คน  หญิง 6,169 คน (ข้อมูลประชากรแยกตามเพศ ณ  วันที่ 13 ตุลาคม 2559) 
 -  ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย  1,617   คนต่อ  1  ตารางกิโลเมตร

   ช่วงอายุและจำนวนประชากร

วัย                   ช่วงอายุ(ปี)      เพศชาย(คน)     เพศหญิง(คน)         รวม    
เด็ก 0-17 1,179 1,071 2,250
เยาวชน 18-25 600 600 1,200
แรงงาน 26-59 2,866 3,126 5,992
สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป   929 1,372 2,301
รวม   5,574 6,169 11,743

(หมายเหตุ : จำแนกเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ข้อมูลประชากรแยกตามช่วงอายุ (ปี) เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย  ณ  วันที่ 13 ตุลาคม  2559)

ลำดับที่     รายชื่อชุมชน                  จำนวนครัวเรือน          ชาย             หญิง            รวม    
1 ชุมชนริมน้ำ 172 224 285 509
2 ชุมชนหนองรี 218 373 421 794
3 ชุมชนส่งเสริมร่วมพัฒนา 453 495 534 1,029
4 ชุมชนตะคร้ำเอน 248 437 509 940
5 ชุมชนศาลเจ้าพ่อเขาแดง 114 217 227 444
6 ชุมชนทวีใจภักดิ์ 610 684 710 1,394
7 ชุมชนบ้านคู้ร่วมใจพัฒนา 298 432 467 899
8 ชุมชนใหม่ร่วมใจภักดิ์ 204 286 321 607
9 ชุมชนวุ้นเส้นพัฒนา 176 224 252 476
10 ชุมชนใหม่เจริญผล 203 245 213 458
11 ชุมชนศาลเจ้าแม่ทับทิม 368 302 369 671
12 ชุมชนท่าเรือสามัคคี 220 177 243 420
13 ชุมชนใจกุศล 234 183 226 409
14 ชุมชนรถไฟ 172 160 169 329
15 ชุมชนร่วมจิตพัฒนา 130 125 155 280
16 ชุมชนรวยน้ำใจ 148 171 188 359
17 ชุมชนสวนหลวง 382 450 496 946
18 ชุมชนชลประทาน 295 143 145 288
19 ชุมชนก้าวหน้าพัฒนา 169 206 219 425

(ข้อมูลประชากรแยกตามชุมชน : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2559)