สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว

โรงเจเข่งซิ่วต๊ว

พุธ ที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561   จำนวนอ่าน 3596 ครั้ง
<p><span style="color: #008000;"><span style="color: #ff0000;">โรงเจเข่งซิ่วต๊ว</span>&nbsp; สันนิฐานว่าน่าจะมีการก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เท็จจริงอย่างไรไม่เป็นที่ปรากฎ แต่มีการเล่าต่อกันมาว่า เส้นทางหน้า โรงเจ เข่งซิ่วต๊ว (ซอยแสงชูโต 23) เตยเป็นเส้นทางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 5) เมื่อครั้งพระองค์เสด็จประพาสไทรโยค และได้เสด็จมาขึ้นเรือที่ท่าเทียบเรือตลาดบน (ซอยแสงชูโต 23) และเสด็จผ่านทางหน้าโรงเจแห่งนี้ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลกินเจพอดี เพื่อไปนมัสการพระแท่นดงรัง ในกาลต่อมาได้มีพระญวนมาจำพรรษาอยู่ที่โรงเจแห่งนี้ พระญวนองค์นี้นามว่า <span style="color: #ff0000;">โหพัฒน์<span style="color: #008000;"> ซึ่งมีประวัติเล่าว่าท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 11 ปี จนกระทั่งเป็นพระภิกษุที่วัดถาวรวรารามจังหวัดกาญจนบุรี (เป็นวัดญวนแห่งแรกในประเทศไทย) ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในระเบียบ วินัย เชื่อกันว่าท่านมีญาณสมาธิแก่กล้า ประชาชนในหมู่บ้าน เชื่อว่าท่านมีญาณที่รู้แจ้งเห็นจริง จึงเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยเฉพาะในสมัยก่อนนั้น ไม่มีโรงพยาบาล ห่างไกลจากสถานที่ราชการ เมื่อประชาชนขาดที่พึ่งก็จะไปหาท่านอาจารย์ซึ่งก็ท่านได้ปัดเป่าให้ ทำให้คนในท่าเรือเกิดความเลี่ยมใสจนกลายเป็นความรักและสามัคคีกันในหมู่บ้าน ถึงขนาดเปรียบท่านเป็น&nbsp;<span style="color: #ff0000;">"เทพเจ้า"<span style="color: #008000;"> ของคนท่าเรือ ต่อมาท่านอาจารย์ไ้ดมรณภาพลง ด้วยอายุเพียง 46 ปี (35 พรรษา) เท่านั้น ประชาชนทั่วไปจึงได้เก็บร่างท่านไว้เพื่อรอการฌาปนกิจเป็นเวลา 3 ปี เมื่อครบกำหนดจึงทำพิธีเปิดโลงศพ ปรากฎว่าร่างของท่านไม่เน่าเปื่อยได้แต่แห้งลงไป ประชาชนจึงพร้อมใจกันนำร่างของท่านมาลงรักเก็บไว้และได้อัญเชิญองค์ท่าน ขึ้นประดิษฐาน ณ โรงเจ เข่งซิ่วต๊ว แห่งนี้ เพื่อให้ลูกหลานได้สักการะสืบต่อไปอย่างมีคุณค่า</span></span></span></span>&nbsp;</span></p>

โรงเจเข่งซิ่วต๊ว

โรงเจเข่งซิ่วต๊ว  สันนิฐานว่าน่าจะมีการก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เท็จจริงอย่างไรไม่เป็นที่ปรากฎ แต่มีการเล่าต่อกันมาว่า เส้นทางหน้า โรงเจ เข่งซิ่วต๊ว (ซอยแสงชูโต 23) เตยเป็นเส้นทางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 5) เมื่อครั้งพระองค์เสด็จประพาสไทรโยค และได้เสด็จมาขึ้นเรือที่ท่าเทียบเรือตลาดบน (ซอยแสงชูโต 23) และเสด็จผ่านทางหน้าโรงเจแห่งนี้ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลกินเจพอดี เพื่อไปนมัสการพระแท่นดงรัง ในกาลต่อมาได้มีพระญวนมาจำพรรษาอยู่ที่โรงเจแห่งนี้ พระญวนองค์นี้นามว่า โหพัฒน์ ซึ่งมีประวัติเล่าว่าท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 11 ปี จนกระทั่งเป็นพระภิกษุที่วัดถาวรวรารามจังหวัดกาญจนบุรี (เป็นวัดญวนแห่งแรกในประเทศไทย) ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในระเบียบ วินัย เชื่อกันว่าท่านมีญาณสมาธิแก่กล้า ประชาชนในหมู่บ้าน เชื่อว่าท่านมีญาณที่รู้แจ้งเห็นจริง จึงเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยเฉพาะในสมัยก่อนนั้น ไม่มีโรงพยาบาล ห่างไกลจากสถานที่ราชการ เมื่อประชาชนขาดที่พึ่งก็จะไปหาท่านอาจารย์ซึ่งก็ท่านได้ปัดเป่าให้ ทำให้คนในท่าเรือเกิดความเลี่ยมใสจนกลายเป็นความรักและสามัคคีกันในหมู่บ้าน ถึงขนาดเปรียบท่านเป็น "เทพเจ้า" ของคนท่าเรือ ต่อมาท่านอาจารย์ไ้ดมรณภาพลง ด้วยอายุเพียง 46 ปี (35 พรรษา) เท่านั้น ประชาชนทั่วไปจึงได้เก็บร่างท่านไว้เพื่อรอการฌาปนกิจเป็นเวลา 3 ปี เมื่อครบกำหนดจึงทำพิธีเปิดโลงศพ ปรากฎว่าร่างของท่านไม่เน่าเปื่อยได้แต่แห้งลงไป ประชาชนจึงพร้อมใจกันนำร่างของท่านมาลงรักเก็บไว้และได้อัญเชิญองค์ท่าน ขึ้นประดิษฐาน ณ โรงเจ เข่งซิ่วต๊ว แห่งนี้ เพื่อให้ลูกหลานได้สักการะสืบต่อไปอย่างมีคุณค่า