สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว

วัดตะคร้ำเอน

พุธ ที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561   จำนวนอ่าน 7578 ครั้ง
<p><span style="color: #008000;">ในปีพุทธศักราช 2498 โดยคหบดีชื่อ <span style="color: #ff0000;">ทองห่อ &nbsp;เช็งสุทธา</span> &nbsp;เกิดศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ประสงค์ที่จะสร้างพระพุทธรูป รวม 113 องค์ (ช่วงวันวิสาขบูชา) ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ที่คงความสง่างาม มีเอกลักษณ์ทที่โดดเด่น ตามลักษณะพระพุทธรูปปางมารวิชัยผสมผสานลักษณะอู่ทองประยุกต์ เนื้อทองสัมฤทธิ์ ลงรักดำหน้าตักกว้างประมาณ 45 นิ้ว เพื่อเป็นพระพุทธรูปบูชาในโอกาสปีที่จะครบกึ่งพุทธกาล (ครบรอบพุทธศาสนา 2500 ปี) วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2499 ถึงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2500</span></p>
<p><span style="color: #008000;">ซึ่งในปีพุทธศักราช 2500 ได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปที่ได้สร้างขึ้นและมีการแจกจ่ายไปทั่วประเทศ และเหลือเป็นองค์สุดท้ายด้วยลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีความงดงาม ทำให้ไม่มีผู้สนใจที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐาน จนกระทั่งพระครูประกาศสุนทรกิจ (หลวงพ่อสนธิ์) ได้ไปรับพระพุทธรูปองค์นี้นำมาปิดทองและอัญเชิญประดิษฐานในอุโบสถ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2503-2504 พระครูประกาศสุนทรกิจได้นิมิต อยู่บ่อยครั้งว่า หลวงพ่อพระประธานไม่ประสงค์อยู่ในอุโบสถและต่องการองค์เป็นสีดำ พระครูประกาศสุนทรกิจและประชาชนจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หน้าอุโบสถ รวมทั้งลงสีดำทั้งองค์คงสภาพเดิม ซึ่งต่อมาประชาชนได้เรียกกันติดปาก ตามภาพที่เห็นว่า&nbsp;<span style="color: #ff0000;">"หลวงพ่อดำ"<span style="color: #008000;"> จนถึงปัจจุบัน</span></span></span></p>
<p><span style="color: #008000;">ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อดำ ตลอดระยะเวลา 50 กว่าปีที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนมากกราบไหว้ขอพรจากท่าน และประสบความสำเร็จตามที่ขอพรไว้อย่างมากมาย จึงมีการแก้บนโดยการฉายภาพยนตร์กลางแปลงแก้บนกันเรื่อยมา ไม่มีวันว่างเว้นตลอดมาจนถึงทุกวันนี้</span></p>

วัดตะคร้ำเอน

ในปีพุทธศักราช 2498 โดยคหบดีชื่อ ทองห่อ  เช็งสุทธา  เกิดศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ประสงค์ที่จะสร้างพระพุทธรูป รวม 113 องค์ (ช่วงวันวิสาขบูชา) ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ที่คงความสง่างาม มีเอกลักษณ์ทที่โดดเด่น ตามลักษณะพระพุทธรูปปางมารวิชัยผสมผสานลักษณะอู่ทองประยุกต์ เนื้อทองสัมฤทธิ์ ลงรักดำหน้าตักกว้างประมาณ 45 นิ้ว เพื่อเป็นพระพุทธรูปบูชาในโอกาสปีที่จะครบกึ่งพุทธกาล (ครบรอบพุทธศาสนา 2500 ปี) วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2499 ถึงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2500

ซึ่งในปีพุทธศักราช 2500 ได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปที่ได้สร้างขึ้นและมีการแจกจ่ายไปทั่วประเทศ และเหลือเป็นองค์สุดท้ายด้วยลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ไม่มีความงดงาม ทำให้ไม่มีผู้สนใจที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐาน จนกระทั่งพระครูประกาศสุนทรกิจ (หลวงพ่อสนธิ์) ได้ไปรับพระพุทธรูปองค์นี้นำมาปิดทองและอัญเชิญประดิษฐานในอุโบสถ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2503-2504 พระครูประกาศสุนทรกิจได้นิมิต อยู่บ่อยครั้งว่า หลวงพ่อพระประธานไม่ประสงค์อยู่ในอุโบสถและต่องการองค์เป็นสีดำ พระครูประกาศสุนทรกิจและประชาชนจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หน้าอุโบสถ รวมทั้งลงสีดำทั้งองค์คงสภาพเดิม ซึ่งต่อมาประชาชนได้เรียกกันติดปาก ตามภาพที่เห็นว่า "หลวงพ่อดำ" จนถึงปัจจุบัน

ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อดำ ตลอดระยะเวลา 50 กว่าปีที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนมากกราบไหว้ขอพรจากท่าน และประสบความสำเร็จตามที่ขอพรไว้อย่างมากมาย จึงมีการแก้บนโดยการฉายภาพยนตร์กลางแปลงแก้บนกันเรื่อยมา ไม่มีวันว่างเว้นตลอดมาจนถึงทุกวันนี้